การตั้งชื่อเครื่องบิน

ระบบเรียกชื่อเครื่องบินของโบอิง สำหรับเครื่องบินพาณิชย์ เริ่มจากชื่อต้นแบบของเครื่องบิน (เช่น 747) แล้วตามด้วยขีดและตัวเลขสามตัว(สองจำนวน) เป็นรูปแบบ โบอิง กกก-ขคค โดยทั่วโปแล้ว นับตั้งแต่เครื่องโบอิง 707เป็นต้นมา ตัวเลขที่ใช้มักจะขึ้นและลงท้ายด้วยเลข 7

ส่วนตัวเลขชื่อรุ่นเป็นตัวเลขหนึ่งตัว (เช่น -200) ตัวเลขที่ตามหลังอีกสองตัว (คค) เป็นตัวบอกบริษัทที่ทำการสั่งชื่อเครื่องบิน ซื่งเรียกว่า Boeing customer codes ตัวอย่างเช่น เครื่องบินโบอิง 747-400 ที่จะส่งมอบให้กับการบินไทย จะใช้ชื่อเรียกว่า "747-4D7" ขณะที่เครื่องบิน 737-600 ที่จะส่งมอบให้กับบริติช แอร์เวย์ จะใช้ชื่อเรียกว่า "737-636" เป็นต้น

ในบางครั้งอาจจะมีตัวอักษรใส่เพิ่มเติม โดย "ER" หมายถึง extended range หรือ "LR" หมายถึง long range

สายการผลิตในปัจจุบัน

รุ่นที่มีการผลิตในปัจจุบัน
เครื่องบิน รุ่นยังผลิตอยู่ รุ่นที่เลิกผลิตแล้ว คำอธิบาย ความจุ เที่ยวบินแรก ส่งมอบครั้งแรก
737
700, 800, 900ER, BBJ, C-40, 737 AEW&C, P-8, 737 MAX 100, 200, 200C/Adv, 300, 400, 500, 600, 700ER, 900 2 เครื่องยนต์ ลำตัวแคบ 85-215 9 เมษายน 2510 28 ธันวาคม 2510
747
8I, 8F, BBJ 100, 100SR/B, 200, 200F/C, SP, 200M, 300, 300M/SR, 400, 400M/D/F/ER/ERF, VC-25, E-4, YAL-1 4 เครื่องยนต์ ลำตัวกว้าง 85-660 9 กุมภาพันธ์ 2512 13 ธันวาคม 2513
767
300F, KC-767, KC-46, E-767 200, 200ER, 300, 300ER, 400ER 2 เครื่องยนต์ ลำตัวปานกลาง 180-375 26 กันยายน 2524 19 สิงหาคม 2525
777
200LR, 300ER, ขนส่งสินค้า 200, 200ER, 300 2 เครื่องยนต์ ลำตัวปานกลางถึงกว้าง 301-550 12 มิถุนายน 2537 15 พฤษภาคม 2538
787
8, 9, 10, BBJ 2 เครื่องยนต์ ลำตัวกว้าง 210-330 15 ธันวาคม 2552 26 ตุลาคม 2554

แหล่งข้อมูล https://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องบินพาณิชย์โบอิง