อย่าพกเงินมากๆ ไว้กับตัว
ข้อนี้เบสิกสุดๆ ค่ะ แต่ทำได้ยากเหลือเกิน ถ้าเกิดเพื่อนๆ นัดเราออกไปเจอกันตามห้างสรรพสินค้า สาวๆ อาจจะพกเงินไปแค่สามร้อยก็พอค่ะ เป็นค่ารถซักร้อยนึง อีกสองร้อยไว้เป็นค่าอาหารกับค่าขนม ถ้าเพื่อนๆ ชวนไปเดินดูของ สาวๆก็ต้องข่มใจไว้ เพราะในตัวมีเงินแค่สามร้อย ถ้าเอามาซื้อของหมดก็ไม่มีค่ารถกลับบ้านน้า > < เห็นมั้ยคะ พอไม่มีเงิน ก็ทำให้เราประหยัดได้แน่ๆ จ้า ^^
ทำงาน Part time
สำหรับสาวๆ บางคนที่อยากหาประสบการณ์และอยากหารายได้พิเศษช่วงปิดเทอม พี่เตยแนะนำให้ลองไปทำงานตามร้านต่างๆ ดูค่ะ อาจจะเป็นร้านพิซซ่า แมคโดนัลด์ ร้านกาแฟ ร้านหนังสือก็ได้ นอกจากจะฝึกความอดทนให้เราแล้ว เรายังได้เงินค่าขนมมาเพิ่มอีกด้วย พอได้เงินนส่วนนั้นมาก็เอาส่วนนึงไปฝากธนาคาร อีกส่วนเอาไปให้คุณพ่อคุณแม่ ^^
เอาเสื้อผ้าเก่าของตัวเองมาขายใน facebook
ข้อนี้เหมาะสำหรับสาวๆ ที่ชอบชอปปิ้งจนมีเสื้อผ้าเต็มตู้ (แต่บางคนเปิดตู้เสื้อผ้ามาแล้วก็ยังรู้สึกว่าไม่มีอะไรจะใส่อยู่ดี ^^’’ บางทีพี่เตยก็เป็นนะ 55555) ว่างๆ สาวๆ ลองคัดเสื้อผ้าที่ไม่ค่อยได้ใส่ออกมา แล้วจัดการเปิดเพจใน facebook แล้วขายของเลย! ตัวไหนยังสภาพดี ไม่ค่อยได้ใส่ก็ขายราคาสูงนิดนึง ส่วนตัวไหนใส่บ่อยจนเบื่อก็อาจจะขายถูกกว่าตัวอื่นหน่อย ^^ พอได้เงินมาก็เก็บเข้าบัญชีธนาคารโลดดด รับรองว่าสาวๆ ต้องได้เงินเยอะแน่ๆ
เก็บแบงค์ 50
เทคนิคนี้พี่เตยได้มาจากกระทู้ในเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง pantip.com ค่ะ เป็นวิธีการออมเงินแบบง่ายๆ เมื่อใดก็ตามที่เราใช้จ่ายเงินด้วยธนบัตรแล้วได้ “แบงค์50” มา ให้เราเก็บไว้ค่ะ พี่เตยลองทำดูแล้ว ได้ผลมากๆ เลย > < เดือนที่ผ่านมาพี่เตยมีเงินไปฝากธนาคาร 700 บาทแน่ะ! :’D (700 บาทจากการเก็บแบงค์ 50 อย่างเดียวเลยนะคะ!) ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมเราต้องเก็บ “แบงค์ 50” นั่นก็เป็นเพราะว่าในการใช้จ่ายวันๆ นึง โอกาสที่เราจะได้แบงค์ 50 มานั้นเป็นไปได้ยาก ส่วนใหญ่เราจะใช้กันแต่แบงค์20 แบงค์100 แบงค์ 500 และแบงค์ 1,000 อีกเหตุผลนึงก็คือเงินจำนวน 50 บาทนั้นไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไปสำหรับการออมเงินนั่นเองค่ะ ต่อไปนี้เมื่อสาวๆ ได้ตังค์ทอนมาเป็นแบงค์50 ก็อย่าลืมเก็บเข้ากระปุกนะคะ ^^
อ่านฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://www.dek-d.com/content/nugirl/30965/
1.จ่ายให้ตัวเองก่อนอันดับแรก กันส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่ได้รับ จะมากจะน้อยให้นำไปฝากเข้าบัญชีธนาคารทุกๆ เดือน แล้วอย่าไปยุ่งกับบัญชีนั้นเด็ดขาด ถ้าจำเป็นต้องถอนเงินส่วนนี้ ให้ถือว่ากำลังกู้เงิน เวลาคืนต้องคืนทั้งต้นทั้งดอก
2.เก็บเหรียญทั้งหลายลงกระปุก เปิดอีกบัญชีสำหรับเงินหยอดกระปุก อย่าดูถูกการสะสมเงินเล็กเงินน้อย จากก้อนเล็กๆ เติบโตกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ในอนาคต
3.เก็บเงินคืนที่ได้รับจากเรื่องต่างๆ เข้าบัญชีธนาคาร เงินรับที่เป็นเบี้ยหัวแตก เช่น เงินคืนตามโปรโมชันการซื้อสินค้า เงินคืนเบี้ยประกัน รายได้เบี้ยใบ้รายทางต่างๆ ให้รวมเป็นบัญชีเดียว แล้วทำบัญชีไว้ คุณจะได้รู้ว่า ณ สิ้นปีรายรับที่ได้จากเงินคืนพวกนี้มันมากขนาดไหน รายรับพวกนี้เป็นรายรับไม่ต้องเสียภาษี น่าเสียดายที่จะใช้ทิ้งๆ ขว้างๆ
4.จ่ายเงินค่างวดผ่อนต่างๆ เข้าบัญชีตัวเอง (แม้เมื่อผ่อนค่างวดนั้นหมดแล้ว)
คุณ กำลังผ่อนค่างวดรถ (หรือจอแบน) อยู่หรือเปล่า ถ้าใช่ ขอให้คุณผ่อนต่อไปด้วยเงินจำนวนเท่าเดิม แต่จ่ายเข้าบัญชีเงินออมของคุณเอง วิธีนี้คุณไม่เดือดร้อนเพราะคุณเคยชินกับภาระผ่อนนั้นๆ อยู่แล้ว ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขว่าคุณไม่มีภาระผ่อนอะไรใหม่ๆ เข้ามาอีก
5.หยุดนิสัยฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย รายจ่ายฟุ่มเฟือยต่างๆ ตัดทิ้งให้หมด ทำรายการขึ้นมาว่าต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง หลายคนแปลกใจว่ายิ่งคิดยิ่งตัดได้เรื่อยๆ..คิดก่อนใช้..ตรึกตรองถึงความจำเป็นมากน้อยจัดลำดับให้ดี
6.เพิ่มผลตอบแทนการลงทุน ไม่ควรยอมรับผลตอบแทนดอกเบี้ยต่ำ เงินออมที่มีอยู่ ควรไปสร้างเงินต่อด้วยการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ ผลตอบแทนสูงสุด ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างสมดุลในการรับความเสี่ยงด้วย
7.เป็นสมาชิกสหกรณ์ เป็นวิธีง่ายสุดของการออมเงิน พร้อมทั้งเป็นแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีกต่างหาก
8.ซื้อพันธบัตรรัฐบาล สำหรับประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการออกพันธบัตรประเภทต่างๆ ให้ผู้สนใจ ถ้าสนใจเข้าไปดูที่ www.bot.or.th การจำหน่ายพันธบัตรให้กับประชาชน สิ่งที่ต้องดูคือประเภทพันธบัตร อัตราดอกเบี้ย และวันจ่ายดอกเบี้ย
9.ใช้ประโยชน์จากการโอนเงินบัญชีธนาคาร เมื่อเงินเดือนถูกนำฝากเข้าในบัญชีของคุณแล้ว คุณควรให้มันอยู่ในบัญชีธนาคารให้นานที่สุด (ฮา)
10.เข้าร่วมแผนออมเงินของบริษัท แผนการออมของบริษัทเป็นแผนออมเงินแบบปลอดภาษี และนายจ้างช่วยจ่ายสมทบ เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับลูกจ้าง
11.ใช้การเสียภาษีให้เป็นประโยชน์ เรียนรู้เรื่องภาษี ประโยชน์ที่คุณไม่ควรเสียและประโยชน์ที่คุณควรได้ (ลดหย่อน)
12.เข้าโครงการออมเงินที่น่าสนใจ เปิดหูเปิดตาให้กว้าง อาจมีโปรแกรมออมที่นึกไม่ถึง
13.ส้มหล่น อย่าเพิ่งกินหมดในคราวเดียว เงิน ก้อนใหญ่ไม่มาบ่อยครั้ง เช่น มรดก รางวัลเกมโชว์ ลอตเตอรี่ เงินปันผลกองทุน ฯลฯ เงินก้อนนี้ควรนำไปใช้ในการออมหรือลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ อย่าลืมปรึกษามืออาชีพด้านภาษีด้วย
14.รัดเข็ดขัดชั่วคราว อยากได้อะไรมากๆ ลองรัดเข็มขัดในช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่น 2-3 เดือน เพื่อออมเงินให้มากกว่าปกติ เก็บเงินได้เท่าราคาของแล้วจึงค่อยกลับสู่การดำเนินชีวิตปกติ
15.ฝากเงินเข้าบัญชีส่วนบุคคลเพื่อการเกษียณอายุสัปดาห์ละครั้ง ในต่างประเทศนิยมมาก มีการทำบัญชีฝากสะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายก้อนใหญ่เพียงครั้งเดียว สำหรับไทยมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งนายจ้างจ่ายสมทบให้
16.ให้นำเงินเดือนส่วนเพิ่มไปฝาก ถ้า รับเงินเป็นรายสัปดาห์หรือราย 2 สัปดาห์ อาจเป็นได้ว่าบางเดือนคุณจะได้รับเงินมากครั้งกว่าปกติ เช่น ถ้าได้รับเงินเป็นรายสัปดาห์ จะมี 4 เดือนที่ได้รับเงินมากครั้งกว่าปกติ หรือถ้าได้รับเงินเป็นราย 2 สัปดาห์ จะมี 3 เดือนที่คุณได้เงินเดือน 3 ครั้ง ครั้งที่เกินมาให้นำไปเข้าบัญชีเงินออม (ทันที)
17.เก็บเงินเบิกรายการต่างๆ ส่วนที่เกินจากรายจ่ายจริงเข้าบัญชีเงินออม ค่าเดินทางหรือรายจ่ายอื่นที่เบิกบริษัทได้ ควรเก็บส่วนเกินจากรายจ่ายจริงไว้ หรือคุณอาจได้ค่าล่วงเวลา ควรเก็บเงินส่วนนี้มาออมเช่นกัน เช่น ได้ค่าล่วงเวลาเดือนละ 2,000 บาท ถึงสิ้นปีจะมีเงินก้อน 2.4 หมื่นบาท สามารถนำมาใช้จ่ายในกรณีพิเศษโดยไม่ต้องไปถอนเงินออมหลัก
18.ยืมมาออม บางคนประสบความสำเร็จในการกู้เงินธนาคาร แล้วนำกลับไปฝากในบัญชีเงินออมของตนเองอีกทีหนึ่ง วิธีนี้ใช้ได้ผลกับคนที่กำลังมีค่าหักลดหย่อน (เช่น กู้ซื้อบ้าน) และใช้ได้กับช่วงเวลาที่ดอกฝากมากกว่าดอกกู้ (หลังภาษี) เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันไม่ต้องพูดถึง
19.นำเงินปันผลและดอกเบี้ยไปต่อเงินโดยอัตโนมัติ เมื่อ ลงทุนหรือฝากเงินในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใด จัดการให้เงินปันผล หรือดอกเบี้ยสามารถนำฝากหรือลงทุนต่อได้อัตโนมัติ ในระยะยาวจะเห็นผลน่าพอใจ
20.ทิ้งเงินไว้ในบัญชีกระแสรายวันให้น้อยที่สุด มีคนจำนวนมากทิ้งเงินไว้ในกระแสรายวัน (เพราะปลอดดอกเบี้ย) แต่หารู้ไม่ว่ากำลังพลาดโอกาสในการทำเงิน ที่ควรก็คือมีเงินในกระแสรายวันให้พอกับรายจ่ายรายเดือน หากเงินเหลือให้โอนไปยังบัญชีเงินฝากที่มีดอกเบี้ยหรือโอนไปลงทุนใน ผลิตภัณฑ์การเงินที่มีดอกเบี้ยดีสุดในเวลานั้น
21.ใช้ประโยชน์จาก Float ความ หมายของ Float คือระยะช่วงที่ ผู้ถือเช็คได้รับเช็คไปจนกระทั่งถึงตอนที่ได้รับเงินสั่งจ่าย ตามเช็ค กล่าวคือ ช่วงที่ยังไม่ได้ถูกตัดบัญชีก็ควรแช่เงินไว้ในบัญชีเงินฝากให้นาน เท่าที่จะนานได้ ก่อนจะโอนไปเข้าบัญชีกระแสรายวันเพื่อตัดจ่ายเช็ค
22.จ่ายหนี้ให้หมด คุณอยากได้ผลตอบแทน 17-21% หรือเปล่า? อย่ามีหนี้บัตรเครดิตสิ เคลียร์หนี้บัตรให้หมด รู้มั้ยว่าถ้ายอดหนี้อยู่ที่ 2.4 หมื่นบาท ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งปีอยู่ที่ 4,000-5,200 บาท รีบเคลียร์หนี้ให้หมด ผลตอบแทนที่คุณจะได้คือไม่ต้องเสียดอกเบี้ยก้อนนี้ การปลอดหนี้บัตรจึงเป็นวิธีออมเงินก้อนใหญ่ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีหนี้ (จริงๆ) หาบัตรที่ดอกถูกสุดมาใช้
อ่านฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://www.kroobannok.com/blog/8800