วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน

     เขาเกิดในปี ค.ศ.1845 ที่เมืองเลนเนป ประเทศเยอรมนี เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ทาง สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1869 จากมหาวิทยาลัยแห่งเมือง ซูริช ในระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยนั้นเขา ชอบวิชาไฟฟ้า วิชาความร้อน และวิชาความ ยืดหยุ่นมาก ในปี ค.ศ.1885เขาได้เป็นศาสตราจารย์ สาขาวิชาฟิสิกส์ ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัย Wurzburg ใน ระหว่างนั้น เขาได้ทราบข่าวเรื่องที่มีผู้ค้นพบรังสีคาโธด จึงเกิดความสนใจ และสงสัยว่า รังสีคาโธด ที่มีผู้ค้น พบนั้นสามารถแผ่ออกมานอก หลอดแก้วได้หรือไม่ และนอกจากรังสีคาโธดที่ค้นพบแล้ว ยังมีสิ่งใดเกิดขึ้นอีก ในการทดลองนั้น จึงทำการทดลอง เพื่อขจัดข้อสงสัย เมื่อหนังสือพิมพ์ทราบข่าวจึงได้ตีพิมพ์เผยแพร่ เรื่องราวเกี่ยวกับการทดลองของเขา ทำให้เขามีชื่อ เสียงโด่งดังไปทั่ว โลกผลงาน ของเขาเป็นประโยชน์ต่อศาสตร์หลายแขนง ได้แก่ วงการแพทย์ ใช้ในการ ตรวจร่างกาย ตรวจรากฟัน ตรวจกระดูก และการผ่าตัด ในวงการวิทยาศาสตร์ ใช้สำหรับตรวจดูผลึกของ ธาตุ ส่วนวงการอุตสาหกรรม ใช้ตรวจดูรอยต่อของการเชื่อม โลหะและตรวจดูเนื้อโลหะชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ทำให้เขาได้รับ รางวัลจากผลงานดีเด่นทางสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ.1896และได้รับ เชิญให้ไปเป็น ศาสตราจารย์ สาขาฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองมิวนิช ในปี ค.ศ.1900 ในปีต่อมา (ค.ศ.1901)เขาได้รับ รางวัลโนเบิลไพรซ์ (Nobel Prize) ทางสาขาฟิสิกส์เป็นคนแรก เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ.1923 ที่เมืองมิวนิช ประเทศเยอรมนี ซึ่งได้ผลการทดลองว่าถ้าใช้หลอดแก้วบาง ๆ รังสีจะแผ่ออกมาภายนอกได้ ถ้าใช้หลอดแก้วหนารังสี จะแผ่ออกมาไม่ได้ และพบ ว่ามีรังสีชนิดอื่นแผ่ออกมา ภายนอกหลอดแก้วด้วย รังสีชนิดนี้สามารถผ่านแผ่น ยาง และแผ่นโลหะบาง ๆ ได้ แต่เขาก็ไม่ทราบ ว่ามันคือรังสีอะไร จึงตั้งชื่อให้ว่ารังสีเอ็กซ์ (x-ray) หลัง จากนั้นเขาจึงทำการทดลองฉายรังสีเอ็กซ์ผ่านสิ่งของและสิ่งมีชีวิต โดยเอาแผ่นฟิล์มใส่ไว้ในกล่องกระดาษ สีดำสนิทและเอาปืนวางไว้บนกล่อง แล้วจึงปล่อยรังสีเอ็กซ์แผ่ออกมา เมื่อนำฟิล์มไป ล้างบนฟิล์มจะ ปรากฎเป็นรูปปืนกระบอกนั้นที่มีรายละเอียดชัดเจนดีมาก การทดลองต่อมาเขาทำตาม ขั้นตอนเดิม แต่เปลี่ยน มาใช้มือวางบนกล่องสีดำที่บรรจุฟิล์มไว้ภายใน แทนการใช้ปืน และเมื่อเอาฟิล์มมาล้าง จะได้ภาพของกระดูกนิ้วมือเป็นสีขาว
อยู่บนแผ่นฟิล์มอย่างชัดเจน ทำให้เขาอธิบายได้ว่า รังสีเอ็กซ์นี้ ไม่สามารถส่องผ่านวัตถุที่มีความหนาแน่น มากได้ จึงทใ้้้้้ำ้้่่้้้้้้้้้้้หฟิล์ม ที่ล้าง ออกมามีส่วนที่เป็น สีขาวตามลักษณะรูปร่างของวัตถุที่เป็นต้นแบบ เนื่องจากฟิล์มส่วนที่โดนแสงนั้น เมื่อ ล้างออกมาแล้ว จะเป็นสีดำตามหลักของการถ่ายภาพ เมื่อเขาได้ ทำการทดลองต่อไปหลาย ๆ ครั้ง จึงสรุป ได้ว่า ธาตุที่มีมวลมาก จะดูดกลืนรัง สีเอ็กซ์ได้ดีกว่าธาตุที่มีมวลน้อย หลังจากนั้นเขาจึงออกแบบ และสร้าง หลอดรังสีเอ็กซ์ ขึ้น

เรินต์เกน เกิดที่เมืองเลนเนพ ปัจจุบันอยู่ในแคว้นเร็มส์ไชด์ ประเทศเยอรมนี บิดามารดาเป็นช่างตัดเย็บเส้อผ้า ต่อมาได้ย้ายครอบครัวไปตั้งรกรากที่ เอเปลดูร์น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อเรินต์เกนอายุได้ 3 ขวบ เรินต์เกนได้รับการศึกษาขั้นต้นที่สถาบันแห่งมาร์ตินุส เฮอร์มัน แวน เดอร์ดูร์น ต่อมาได้ เข้าเรียนในสถาบันเทคนิคอูเทรชต์ ที่ซึ่งเขาถูกไล่ออกจากสถาบันเนื่องจากถูกกล่าวหาว่าเขียนภาพล้ออาจารย์คนหนึ่ง ซึ่งเรินต์เกนไม่เคย ยอมรับว่าเป็นผู้เขียน

ใน พ.ศ. 2408 เรินต์เกนพยายามสมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยอูเทรชต์โดยไม่มีเอกสารหลักฐานที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาปกติแต่ไม่ได้รับการรับเข้าเรียน ต่อมาเรินต์เกนทราบว่าที่สถาบันโปลีเทคนิคในซุริก (ปัจจุบันคือ ETH Zurich ที่มีชื่อเสียง) รับนักศึกษากรณีนี้เข้าเรียนได้โดยการสอบ เขาจึงเริ่มการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ในปี พ.ศ. 2412 เรินต์เกนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซูริกแห่งนี้

การทำงาน

ในปี พ.ศ. 2410 เรินต์เกนเข้าทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยสตราสบวร์ก และในปี พ.ศ. 2414 ได้เป็นศาสตราจารย์ในสถาบันเกษตรศาสตร์ที่ฮอเฮนไฮม์ เวิร์ทเตมเบิร์ก เรินต์เกนได้กลับไปเป็นศาสตราจารย์สาขาวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยสตราสบวร์กอีกคร้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2419 และในปี พ.ศ. 2422 เรินต์เกนได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยไกส์เซน พ.ศ. 2431 ย้ายไปรับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเวิร์ซเบิร์ก และอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยมิวนิกในปี พ.ศ. 2443 โดยคำขอของรัฐบาลบาวาเรีย

เรินต์เกนมีครอบครัวอยู่ในประทศสหรัฐฯ ที่รัฐโอไฮโอ ครั้งหนึ่งเขาเคยคิดที่จะย้ายไปตั้งรกรากที่นั่น เรินต์เกนได้ยอมรับการแต่งตั้งที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในนิวยอร์ก และได้ซื้อตั๋วเรือไว้แล้ว แต่การระเบิดของสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้แผนการนี้เปลี่ยนไป เรินต์เกนตกลงอยู่ในมิวนิกต่อไปและได้ทำงานที่นี้ไป ตลอดชีวิต เรินต์เกนถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2456 จากโรคมะเร็งเยื่อบุช่องท้อง มีการพูดกันว่าเรินต์เกนเสียชีวิตจากการได้รับรังสีเอกซ์เรย์ แต่ส่วนใหญ่ ไม่เชื่อว่าการเกิดโรคมะเร็งนี้เป็นผลมาจากการรับรังสีเอกซ์เรย์ ทั้งนี้เนื่องจากการค้นคว้าวิจัยในส่วนที่เรินต์เกนต้องเกี่ยวข้องกับรังสีโดยตรงและมากมี ช่วงเวลาสั้น และเรินต์เกนเอง ยังเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกๆ ที่เป็นผู้นำในการใช้ตะกั่วเป็นโล่ป้องกันอย่างสม่ำเสมอ

การค้นพบเอกซ์เรย์

ในช่วงปี พ.ศ. 2438 เรินต์เกนได้ใช้อุปกรณ์ที่พัฒนาโดยเพื่อนร่วมงานผู้มีชื่อเสียงคือ อีวาน พัลยูอิ (Ivan Palyui) นำมาให้ คือหลอดไฟที่เรียกว่า "หลอดพัลยูอิ" ซึ่งเรินต์เกนพร้อมกับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ ได้แก่ ไฮริช รูดอล์ฟ เฮิร์ทซ์, วิลเลียม ครูกส์, นิโคลา เทสลา และฟิลิบ ฟอน เลนาร์ด ต่างทำการ ทดลองและทดสอบผลกระทบของการปล่อยประจุไฟฟ้าแรงดึงสูงในหลอดแก้วสุญญากาศนี้ จนถึงปลายปี พ.ศ. 2408 บรรดานักค้นคว้าเหล่านี้จึงได้ เริ่มทดลองค้นคว้าหาคุณสมบัติของรังสีแคโทดข้างนอกหลอด ในต้นเดือนพฤศจิกายน เรินต์เกนได้ทดลองซ้ำโดยใช้หลอดของเลนาร์ดโดยทำช่อง หน้าต่างด้วยอลูมเนียมบางๆ เพื่อให้รังสีผ่านออกและใช้กระดาษแข็งปิดทับเพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นอะลูมิเนียมเสียหายจากไฟฟ้าสถิตย์กำลังแรงที่จะเป็น ในการสร้างรังสีแคโทด เรินต์เกนรู้ว่ากระดาษแข็งจะช่วยป้องกันไม่ให้แสงหนีออก แต่เขาได้สังเกตเป็นว่ากระดาษแข็งที่ทาด้วยแบเรียม ปลาติโน ไซยาไนด์ (barium platinocyanide) ที่อยู่ใกล้ขอบช่องอะลูมิเนียมเกิดการเรืองแสงเรินต์เกนพบว่าหลอดของครูกส์ที่มีผนังหลอดหนาก็อาจเกิด การเรืองแสงในลักษณะเช่นนี้ได้

ในบ่ายวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 เรินต์เกนตั้งใจแน่วแน่ว่าจะทดสอบความคิดนี้ เขาได้บรรจงทำแผ่นกระดาษแข็งอย่างระมัดระวัง ให้เหมือนกับ ที่ใช้กับหลอดของเลนาร์ด โดยปิดหลอดฮิททอร์ฟ-ครูกส์ด้วยกระดาษแข็งแล้วต่อขั้วจากขดลวดเหนี่ยวนำของรุห์มคอร์ฟเพื่อสร้างประจุไฟฟ้าสถิตย์ แต่ก่อนที่เรินต์เกนจะตั้งจอที่ทาด้วยแบเรียมปลาติโนไซยาไนด์เพื่อทดสอบความคิด เขาได้ปิดม่านปิดไฟให้ห้องมืดลง เพื่อดูว่าแผ่นกระดาษแข็งปิดแสง ได้มิดหรือไม่ ในขณะที่ปล่อยกระแสจากขดลวดเหนี่ยวนำขยับกระดาษแข็งให้แน่นแล้วหันไปเตรียมการขั้นถัดไป เรินต์เกนได้พบว่า ณ จุดนี้เองที่เกิดมีแสง เรืองๆ ขนาดอ่อนๆ ปรากฏที่ปลายโต๊ะที่ห่างออกไป 1 เมตร เพื่อให้แน่ใจ เรินต์เกนได้ปล่อยกระแสจากขดลวดเหนี่ยวนำอีกหลายครั้ง แสงเรืองๆ ก็ยังเกิด ขึ้นเหมือนเดิม เขาจุดไม้ขีดไฟดูจึงได้เห็นสิ่งที่อยู่ปลายโต๊ะนั้นแท้จริงก็คือแผ่นกระดาษแข็งทาสารแบเรียมฯ ที่เตรียมไว้สำหรับการทดลองขั้นต่อไปมั่นเอง

เรินต์เกนคาดเดาว่าสิ่งนี้อาจเกิดจากแสงชนิดใหม่ก็ได้ วันที่ 8 พฤศจิกายน เป็นวันศุกร์ เขาจึงถือโอกาสใช้วันหยุดสุดสัปดาห์ทำการทดลองซ้ำและ ทำการบันทึกครั้งแรกไว้ ในหลายสัปดาห์ต่อมา เรินต์เกนกินและนอนในห้องทดลองเพื่อทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ของแสงชนิดใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร เขาจึงเรียกชื่อลำลองไปก่อนว่า "รังสี X" เนื่องจากต้องใช้สูตรคณิตศาสตร์กับสิ่งที่ยังไม่รู้จักมาก่อน แม้ว่าจะมีผู้เรียกชื่อรังสีนี้ว่า "รังสีเรินต์เกน" เพื่อเป็นเกียรติ แต่ตังเรินต์เกนเองกลับจงใจใช้ชื่อว่า "รังสีเอกซ์" เรื่อยมา

การค้นพบรังสีเอกซ์ของเรินต์เกนไม่ใช่อุบัติเหตุ หรือจากการทำงานตามลำพัง ในการเสาะแสวงหาคำตอบ เรินต์เกนและผู้คิดค้นในงานประเภทนี้ ในหลายประเทศก็ได้ช่วยกันทำอยู่ การค้นพบเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดอย่างเห็นๆ กันอยู่แล้ว ความจริงแล้ว รังสีเอกซ์ได้ถูกสร้างขึ้นและเกิดรูปในฟิล์มแล้ว ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย 2 ปีก่อนหน้านั้น เพียงแต่ว่าคนที่ทดลองทำไม่ได้ตระหนักว่าตนเองได้ค้นพบสิ่งที่ยิ่งใหญ่เข้าแล้ว จึงเก็บฟิล์มเข้าแฟ้มสำหรับ ใช้อ้างอิงในการทดลองอื่นๆ ในอนาคต ทำให้พลาดในการได้ชื่อว่าตนเป็นผู้ค้นพบสิ่งสำคัญที่สุดทางฟิสิกส์

ณ จุดหนึ่ง ในขณะที่กำลังทดลองขีดความสามารถของวัสดุต่างๆ ในการปิดกั้นรังสี เรินต์เกนได้เอาแผ่นตะกั่วชิ้นเล็กๆ วางขวางทางรังสีได้สังเกต เห็นภาพลางของโครงกระดูกตัวเองปรากฏบนแผ่นจอแบเรียมฯ ซึ่งเขาได้เขียนรายงานในเวลาต่อมาว่า ตรงจุดนี้เองที่ตนเองตัดสินใจรักษาการทดลองไว้ เป็นความลับด้วยเกรงว่าการทดลองนี้อาจเกิดจากคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาด

บทความรายงานชิ้นแรกของเรินต์เกน คือ "ว่าด้วยสิ่งใหม่ของรังสีเอกซ์" (On A New Kind Of X-Rays) ตีพิมพ์ใน 50 วันต่อมาคือวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 และในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2439 หนังสือพิมพ์ของประเทศออสเตรียได้รายงานการค้นพบรังสีชนิดใหม่ของเรินต์เกน เรินต์เกนได้รับปริญญาเอก กิตติมศักดิ์สาขาการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเวิร์ซเบิร์กหลังการค้นพบครั้งนี้ เรินต์เกนได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับรังสีเอกซ์รวม 3 เรื่อง ระหว่างปี พ.ศ. 2438 - 2440 ข้อสรุปทั้งหมดของเรินต์เกนได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้องทั้งหมด เรินต์เกนได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งการวินิจฉัยทางรังสีวิทยา เป็นสาขาเชี่ยวชาญ เฉพาะที่ใช้ภาพวินิจฉัยโรค

ในปี พ.ศ. 2444 เรินต์เกนได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ซึ่งเป็นรางวัลแรกสุด รางวัลนี้ให้อย่างเป็นทางการเพื่อ "เป็นการรับรู้และยกย่องในความวิริยอุตสาหะ ที่เขาได้ค้นพบรังสีที่มีความสำคัญและได้รับการตั้งชื่อตามเขานี้" เรินต์เกนได้บริจาครางวัลทีได้รับให้แก่มหาวิทยาลัยที่เขาสังกัด และได้ทำเช่นเดียวกับที่ ปิแอร์ คูรี ได้ทำบ้างในหลายปีต่อมา คือการปฏิเสธไม่ถือลิขสิทธิ์ในสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่สืบเนื่องมาจากผลงานที่เขาค้นพบด้วยเหตูผลทางจริยธรรม เรินต์เกนไม่ยอมแม้แต่จะให้ใช้ชื่อเขาเรียงรังสีที่เขาเป็นผู้ค้นพบ อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2547 IUPAC ได้ตั้งชื่อธาตุใหม่ว่า "เรินต์เกนเนียม" (Roentgenium) เพื่อเป็นเกียรติแก่เรินต์เกน

 

กลับไปเลือกนักวิทยาศาตร์